Offline VS Online อันไหนดีกว่ากัน
June 20, 2018ทำบทเรียนออนไลน์ด้วยตัวเองภายใน 60 วัน
April 19, 2018มาตรฐานของระบบ LMS หรือ E-Learning นั้นมีอะไรบ้าง ทำไมต้องเลือกเครื่องมือที่รองรับระบบ SCORM แล้ว มาตรฐาน SCORM ที่ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันในบทความนี้ครับ
จากการที่ e-learning มีการพัฒนากันอย่างหลากหลายทั้งในสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงองค์กรทางธุรกิจทำให้ LMS / CMS และ LCMS มีสภาพแวดล้อมของระบบที่แตกต่างกันไป แต่หลักการมาตรฐานของ e-learning นั้นต้องมีระบบ ที่สามารถเรียกดูฐานข้อมูลหรือสื่อการเรียนการสอนร่วมกันได้
จากการที่กระบวนการจัดการศึกษาออนไลน์ในแบบ e-learning ที่สมบูรณ์ แบบนั้น จำเป็นต้องมีระบบการบริหาร จัดการหลักสูตร (Course Management System หรือ Learning Management System: CMS/LMS) ซึ่งระบบส่วนใหญ่นั้น จะประกอบ ส่วนจัดการหลักสูตร/รายวิชา (Course Management) ส่วนส่งเสริม การเรียนรู้ (Supporting Management) และส่วนจัดการข้อมูล (Data Management) ทั้งในส่วนผู้บริหาร/ควบคุมหลักสูตร รวมถึงผู้เรียนที่มีอยู่ในระบบ นอกจากนี้หากใน ระบบของสถานศึกษาที่มีครูผู้สอนหลายคนและเปิดสอนในหลายหมวดวิชา จำเป็นต้อง มีระบบการจัดเนื้อหาการสอน (Learning Content Management System :LCMS) ซึ่ง จะเป็นส่วนควบคุมเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการ เรียนการสอน และในการบริหารจัดเนื้อหา (Subject Management Expert : SME) ของวิชาที่รับผิดชอบ
จากการที่ e-learning มีการพัฒนากันอย่างหลากหลายทั้งในสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงองค์กรทางธุรกิจทำให้ LMS / CMS และ LCMS มีสภาพแวดล้อมของระบบที่แตกต่างกันไป แต่หลักการมาตรฐานของ e-learning นั้นต้องมีระบบ ที่สามารถเรียกดูฐานข้อมูลหรือสื่อการเรียนการสอนร่วมกันได้
กลไกการรักษามาตรฐานของ e-learning จึงเริ่มขึ้น เริ่มจากหน่วยงาน AICC (Airline Industry Computer-Based Training Committee : www.aicc.org) ของสหรัฐอเมริกา ได้พิจารณาในเรื่องการรักษามาตรฐานของ e-learning ซึ่งสรุปได้ ว่ามีเพียงLCMS ที่เป็นรายละเอียดของตัวหลักสูตรรายวิชา, ข้อกำหนดในรายวิชา, เนื้อหาและสื่อสำหรับจัดการเรียนการสอน รวมถึงข้อมูลประกอบร่วมอื่นๆในหลักสูตรเท่านั้นที่ต้องใช้ร่วมกัน (Sharable Content Object) ในลักษณะรูปแบบ Meta-data ที่สามารถติดต่อระหว่างกันได้ทั่วโลกในมาตรฐานเดียวกันใน 3 องค์ประกอบคือ content, services และ technology มาตรฐานนี้เรียกว่า “SCORM” (Sharable Content Object Reference Model) ปัจจุบันนี้องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนด พัฒนา มาตรฐาน e-learning ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ประกอบด้วย 4 องค์กร หลัก ได้แก่ AICC, IEEE, IMS และ ADL (ข้อมูลแนะนำองค์กรอยู่ท้ายบทความ)
ข้อกำหนดมาตรฐาน SCORM ของ e-learning มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. มาตรฐาน SCORM ด้าน Content Package
มาตรฐานนี้กำหนดให้รวมข้อมูลหรือการ Package ข้อมูล อาทิ text, image, multimedia เข้าเป็นก้อนหรือเป็น unit เดียวกัน ซึ่งในมาตรฐานส่วนนี้จะช่วยปกป้อง ความถูกต้องของข้อมูล รักษาสิทธิส่วนบุคคล ปกป้องการเข้าใช้ข้อมูลจากผู้ไม่มีสิทธิ์ รวมถึงป้องกันการดัดแปลงและคัดลอก ข้อมูลได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะ ข้อมูลนี้ถูกรวมไว้เป็นก้อนเดียวกัน
2. มาตรฐาน SCORM ด้าน API (Application Program Interface)
มาตรฐานนี้จะหมายถึงข้อกำหนดต่างๆ ของ Data หลักสูตรต้องเหมือนกัน เพื่อ ให้ข้อมูลบทเรียนมีการส่งและการเข้าถึงข้อมูล ได้รวดเร็วและได้ง่ายเหมือนกัน
สำหรับในประเทศไทยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช : NSTDA National Science and Technology Development Agency) โดยให้หน่วยงานที่ตั้งขึ้นในลักษณะโครงการพิเศษ ชื่อ “การเรียนรู้แบบออนไลน์ แห่ง สวทช.( NSTDA Online Learning Project ; NOLP)” ทำหน้าที่รักษามาตรฐาน SCORM โดยอ้างอิงมาตรฐาน SCORM จากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า ADL SCORM (Advanced Distributed Learning SCORM)
มาตรฐานอีเลิร์นนิงในปัจจุบันไปถึงไหน
ผลงานที่สำคัญที่สุดของการกำหนดมาตรฐานอีเลิร์นนิง มีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรกเป็นการกำหนดคำอธิบายข้อมูล ที่ใช้ในการสร้าง เนื้อหา เราเรียกว่า Metadata ในปัจจุบัน IEEE ได้ออกประกาศเป็นมาตรฐานแล้ว เรียกว่า มาตรฐาน LOM (Learning Object Metadata) หรือ IEEE 1484.12.1 และข้อกำหนดของ SCORM ก็ได้นำ LOM มาใช้เรื่องที่สอง เป็นเรื่องการทำ Content packaging เพื่อความสะดวกในการย้ายเนื้อหาจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบ เราอ้างอิงถึงการทำ Packaging ตามข้อกำหนด IMS (EDUCAUSE Institutional Management System Project) และ SCORM ก็ใช้ข้อกำหนดนี้เช่นกันในการทำแพ็คเกจและเรื่อง สุดท้ายเป็นข้อกำหนดของวิธีการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Content กับ LMS ซึ่ง SCORM ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวมาจากข้อกำหนด ของ AICC (Aviation Industry CBT Committee) เห็นได้ชัดว่า ข้อกำหนดของ SCORM นอกจากจะเป็นข้อกำหนดที่ผ่านการทดสอบ ในเชิงปฏิบัติแล้ว ยังรวมเอาข้อกำหนดหลักๆ จากข้อกำหน[คำไม่พึงประสงค์]ื่นเข้ามาร่วมกัน จึงทำให้ข้อกำหนด SCORM เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้ระบบอีเลิร์นนิง
ข้อกำหนด SCORM คืออะไร ?
SCORM ย่อมากจาก Sharable Content Object Reference Model ซึ่งเริ่มต้นพัฒนามาจากกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ (DOD) เพื่อศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบ
อีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ DOD จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิงกลาง ผลจากความพยายาม จึงมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่าง DOD, รัฐบาล, ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่ ี่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning, www.adlnet.org) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2001 ได้ประโยชน์ทางธุรกิจอย่างไรจาก SCORM
ประโยชน์ที่ได้จากการประยุกต์ใช้มาตรฐานอีเลิร์นนิง โดยเฉพาะการนำข้อกำหนดของ SCORM มาใช้ในหน่วยงาน ทำให้ระบบมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง ลดความเสี่ยงของการลงทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ในภาพรวม และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนดีขึ้น (ROI) ซึ่งจะได้แจกแจงรายละเอียดต่อไป เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย SCORM ทำให้ธุรกิจและการพัฒนาระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะ
1. นำเนื้อหามาใช้ได้ใหม่ (Reuse Content) ทำให้การพัฒนาเนื้อหารวดเร็วขึ้น โดยเมื่อพัฒนาขึ้นเรื่องหนึ่งสามารถนำไปใช้กับผู้เรียน ที่ต่างกัน หรือวิชาอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาในการพัฒนา
2. เนื้อหาสามารถใช้ร่วมกันระหว่างระบบได้ (Share Content) การใช้ข้อกำหนด SCORM ทำให้การ Integrate ระบบง่ายขึ้นทั้ง ในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยป้องกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ (Cost of Ownership) ถูกลงบทเรียน ตามข้อกำหนด SCORM สามารถใช้ร่วมกับระบบที่เข้ากันได้ (Compliant) กับ SCORM ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
3. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบทเรียน (Content Maintenance) โดยที่องค์กรสามารถปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนได้เอง(in-house) สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้หลากหลาย โดยไม่ติดกับซอฟต์แวร์ใดๆ หรือผู้ผลิตรายใด ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบท เรียนขององค์กรถูกลง
4. ทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Technology investment) เพราะจากเนื้อหาบทเรียน ในมาตรฐาน SCORM สามารถใช้งานได้ดีกับ LMS ใดๆ ตามมาตรฐาน SCORM ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อทั้ง Content และ LMS จากผู้ผลิตรายใดก็ได้ที่ได้มาตรฐาน
5. สามารถหลีกเลี่ยงซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง (Proprietary Authoring Tools) เนื่องจาก Content ตามข้อ กำหนด SCORM เป็น Web based Content จึงสามารถใช้ HTML tool ไปสร้าง Content ได้ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ เฉพาะเจาะจงใดๆ สร้าง Content
6. ฝึกหัดผู้พัฒนา Content ได้เร็วกว่า (Train developer faster) เนื่องจาก การนำ SCORM ไปใช้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ ในอนาคตเราสามารถหาผู้ผลิต ผู้พัฒนา Contentได้โดยง่าย พร้อมกับใน ความรู้ และทักษะของ SCORM ก็จะเผยแพร่ออกไปอย่าง กว้างขวางง่ายต่อการหาคู่มือ ตำรา และเอกสารการฝึกอบรม
เพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียน
เนื้อหา SCORM และ LMS ช่วยทำให้องค์กรสามารถสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพในการเรียน โดยใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการออกแบบ เนื้อหาและความสามารถของ LMS เช่น ระบบการติดตามผลการเรียน ระบบนำส่งเนื้อหาที่เหมาะสม การออกแบบเนื้อหาเชิงวัตถุ ฯลฯ
1. หลักสูตรสามารถปรับให้เหมาะสมกับบุคลิกของผู้เรียนได้
2. เพิ่มความสามารถการใช้งานของผู้เรียน
3. สามารถใช้ข้อมูลของผลการเรียนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
สรุป
ดังนั้นตามความคิดของผู้เขียนสามารถสรุปได้ดังนี้ SCORM มาจากคําว่า Shareable Content Object Reference Model (SCORM) หมายความว่าเป็นรูปแบบที่ทําให้เนื้อหาที่ได้พัฒนาขึ้นมาด้วยมาตรฐานดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนกันได้มากที่สุด องค์ประกอบสําคัญของ SCORM มีอยู่ 2 ส่วนคือ
1. การกําหนดมาตรฐานในการพัฒนาเนื้อหาชุดการเรียน (Learning Packaging Content)
2. การกําหนด API ที่ทําให้การสื่อสารส่งสัญญาณระหว่างเนื้อหาที่เรียนกับระบบเป็นไปได้
รับส่งค่าคะแนนกันได้
องค์ประกอบของ SCORM
ควรแบ่งศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management Systems – LMS)
2. ส่วนของการพัฒนาเนื้อหาสาระ (Shareable Content Objects – SCOs)
ส่วนของ SCOs ที่พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานจะทําให้เกิดการนําเนื้อหาที่พัฒนาแล้วนั้นไปใช้ต่อไปได้ และส่วนของระบบพัฒนา SCO นี้นับเป็นส่วนสําคัญที่เมื่อพัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้วจึงจําเป็นต้องแยกออกจากระบบ LMS และทําให้เป็นระบบที่ว่า ถ้ามีการพัฒนา LMS อย่างเป็นมาตรฐานแล้ว จะทําให้สามารถนํา SCO ที่ได้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะจากที่ใดๆ ก็สามารถนํามาใช้ร่วมกันได้
ด้วยแนวคิดเช่นนี้ จะทําให้มีผู้ผลิต (Vendors) ซึ่งอาจได้แก่บริษัทที่มีเนื้อหาสาระ เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สํานักพิมพ์ ฯลฯ สามารถวางระบบพัฒนาชุดการเรียนที่เป็นมาตรฐานมาสนับสนุนระบบ LMS และนั่นก็หมายถึงการทําให้ระบบ E-learning โดยรวมมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งสําหรับสถาบันการศึกษา ผู้สอน และสําหรับผู้เรียนทั้งหลาย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ
คัดลอกมาจาก http://www.moe.go.th/
ภาพจากเว็บ https://elearningindustry.com